การใช้กัญชาในทางการแพทย์ (โรคมะเร็ง) ตอนที่ 1

การใช้กัญชาในทางการแพทย์ (โรคมะเร็ง) ตอนที่ 1

    กระแสการใช้กัญชา และความหวัง กับกัญชา แพร่หลายและรุนแรงมากขึ้น ทั้งด้านการแพทย์ รวมไปถึงการใช้ในเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม ที่มีออกมาในสื่อต่างๆ 

      ผมเอง ในฐานะที่เคยสนใจเรื่องกัญชามานาน และเขียนบทความที่ปรากฏใน facebook นี้ เป็นระยะเคยสัมมนา เรื่องกัญชา ที่ประเทศสเปน ผมเฝ้ารอโอกาสที่เหมาะสมในการนำกัญชาซึ่งเป็นภูมิปัญญาของแพทย์แผนไทย มาแต่โบราณ กับผู้ป่วยมะเร็ง แต่ด้วยขาดหลักฐาน การศึกษาที่ชัดเจน ตั้งแต่เรื่องชนิดกัญชา ส่วนประกอบของสารในกัญชา ที่สำคัญคือ ประสบการณ์การใช้ในประเทศไทย เพราะเพิ่งจะมีการอนุญาตเพื่อการใช้อย่างถูกต้องไม่นาน แต่ด้วยกระแสทีรุนแรง ผู้ป่วยที่มาในหลายรูปแบบ ทั้งขอปรึกษา ขอใช้ รวมทั้งใช้อยู่ก่อนที่มาพบหมอ ทำให้ผมต้องพิจารณาเรื่องกัญชาอีกครั้ง

การใช้กัญชาในทางการแพทย์ การใช้มากขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยสำคัญในประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามผล การรักษาและความปลอดภัยในการใช้โดยเฉพาะในทางด้านมะเร็งวิทยายังขาดประจักษ์พยานที่ชัดเจน มีรายงานการศึกษาในปี 2020 ที่ได้รวบรวมรายงานที่มีหลักฐานถึงผลของกัญชา ในลักษณะของการให้เสริม หรือให้เพื่อบรรเทาอาการในผู้ป่วยมะเร็ง รายงานนี้เป็นการศึกษาตั้งแต่ปี 2016-2019 ทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกา จำนวน 2,267 รายงาน และคัดมาเพียง 96 การศึกษา และในกลุ่มนี้มีรายงานที่เป็นการ RCT หรือการศึกษาแบบสุ่มอยู่ 2 รายงาน ส่วนใหญ่จะศึกษา เรื่องของอาการปวด อาการคลื่นไส้ อาเจียน ภาวะผอม,น้ำหนักลด เบื่ออาหาร พอจะสรุปได้ว่ากัญชาจะมีผลที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วย 18.3-40.0 % ในกลุ่มที่มีอาการปวด คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะการคลื่นไส้อาเจียน จากให้ยาเคมีบำบัด ได้ตอนต่อไป 

   แต่ยังไม่มีรายงานทางคลินิก เกี่ยวกับผลการทำลายเซลล์มะเร็ง หรือผลทางด้านภูมิคุ้มกัน 

   ดังนั้นปัจจุบัน จึงยังไม่แนะนำการใช้กัญชาเพียงอย่างเดียวที่เป็นประโยชน์อยู่บ้าง แต่ที่ชัดเจนคือการใช้รักษาร่วมกับวิธีมาตรฐาน ซึ่งสามารถติดตามได้ตอนต่อไป

ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร

อ้างอิง 1.Effect of cannabis on oxaliplatin-induced peripheral neuropathy among oncology patients: a retrospective analysis Barliz Waissengrin, Dan Mirelman, Sharon Pelles,  Felix Bukstein, Deborah T. Blumenthal, Ido Wolf, Ravit Geva First Published February 9, 2021 SAGE Journals
2. A systematic review of evidence for cannabis and cannabinoids as adjuvant therapy in palliative and supportive oncology care. Sebastian Jugl, Shailina Keshwani, Lauren Adkins, Coy D. Heldermon, Almut Winterstein, Amie GoodinShow LessDepartment of Pharmaceutical Outcomes & Policy, College of Pharmacy, University of Florida; Center for Drug Evaluation and Safety (CoDES), Gainesville, FL; Health Science Center Library, University of Florida, Gainesville, FL; Department of Medicine, University of Florida, Gainesville, FL; Department of Pharmaceutical Outcomes & Policy, College of Pharmacy, University of Florida; Center for Drug Evaluation and Safety (CoDES), Gainesvillle, FL 2020 American Society of Clinical Oncology
3. Medical Cannabis in Oncology: a Valuable Unappreciated Remedy or an Undesirable Risk? Mahmoud Abu-Amna 1, Talal Salti 1 2, Mona Khoury 1 2, Idan Cohen 1, Gil Bar-Sela 3 4

Post Views: 3,050
Language »