ขั้นตอน ฉายรังสี มะเร็งเต้านม ต้องทำอะไรบ้าง ?

ขั้นตอน ฉายรังสี มะเร็งเต้านม ต้องทำอะไรบ้าง ?

การฉายรังสี หรือการฉายแสง เป็นการรักษามะเร็งเต้านมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกรายที่ผ่าตัดแบบเก็บเต้านม
  1. การจำลองการฉายรังสี (Simulation)
    – สามารถอาบน้ำ ดื่มน้ำ รับประทานอาหารมาได้ปกติ
    – ยกเว้นผู้ที่ต้องฉีดสารทึบแสง ต้องงดน้ำอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
    – ต้องยกแขนเหนือศีรษะ ดังนั้นควรฝึกการยกแขนหลังการผ่าตัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้แขนติด
    – อาจมีการทำเครื่องหมายบอกตำแหน่งด้วยปากกาเป็นเครื่องหมายเล็กๆ
    – ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ตั้งแต่พบแพทย์จนจบการจำลองการฉายรังสี
2.  วางแผนการฉายรังสี โดยแพทย์และนักฟิสิกส์
– สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง CAH ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเพียง 1-3 วัน
– จะคำนวณปริมาณรังสีให้มุ่งตรงไปยังก้อนมะเร็ง โดยที่เนื้อเยื่อรอบข้างได้รับรังสีน้อยที่สุด
– จำนวนวันและปริมาณรังสีสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน ขึ้นกับลักษณะ ระยะของมะเร็งและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง
3. วันนัดฉายรังสี
-เมื่อถึงวันนัด ผู้ป่วยต้องมาตามวันนัด ซึ่งได้คำนวณไว้ให้เหมาะสมที่สุด สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
– เปลี่ยนเสื้อคลุม และนอนบนเตียงฉายแสง ในท่าเดียวกับวันที่จำลอง การฉายรังสี โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้จัดท่าให้
– เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ป่วยหายใจได้ตามปกติ แต่ห้ามขยับตัว หากมีเหตุจำเป็นใดที่ทำให้ต้องขยับตัวสามารถส่งเสียงเรียกเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา เพื่อหยุดเครื่องกรณีจำเป็น
– ขณะเริ่มการฉายรังสี เจ้าหน้าที่จะออกจากบริเวณห้องฉาย แต่จะมองเห็นและได้ยินเสียงผู้ป่วยตลอดเวลาของการฉายรังสี ไม่ต้องกังวลว่าอยู่ในห้องฉายรังสีเพียงคนเดียว ท่านจะมีความปลอดภัยภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่เช่นเดิม
– เวลาที่ใช้ในการฉายแสง ไม่เท่ากันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้โดยทั่วไปรวมเวลาจัดท่า จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที ในแต่ละวัน
– หากไม่สามารถมาฉายแสงได้ตามวันที่กำหนด ให้แจ้งแพทย์เพื่อประเมินการรักษาหรือพิจารณาว่าสามารถเลื่อนวันฉายรังสีได้หรือไม่ เพราะการฉายรังสี เป็นการคำนวณปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับภายในช่วงระยะหนึ่ง ที่จะสามารถทำลายก้อนมะเร็งได้ ดังนั้น การเลื่อนฉายรังสี ต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์
Post Views: 7,707
Language »