ความอ้วน กับ มะเร็งเต้านม

ความอ้วน กับ มะเร็งเต้านม

  • มีหลักฐานแน่ชัดว่า ภาวะอ้วน มีความสัมพันธ์กับ โรคมะเร็งหลายชนิด
  • ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่าอ้วน มีนิยามอย่างไร
  • ภาวะอ้วน จะวัดจากค่าดัชนีมวลกาย ซึ่ง มีวิธีการคิดดังนี้
น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วย (ส่วนสูงเป็นเมตร x ส่วนสูงเป็นเมตร)
เช่น ผู้ที่มีน้ำหนัก 80 กิโลกรัม สูง 170 เซ็นติเมตร จะมีดัชนีมวลกาย
___80___ = 27.68
1.7 x 1.7
ในคนเอเชีย 
ใช้เกณฑ์น้อยกว่า 18.5 ถือว่าผอม, 18.5 – 22.9 สมส่วน , 23 – 29.9 น้ำหนักเกิน , มากกว่า 30 มีภาวะอ้วน
   ผู้ที่น้ำหนักเกินและผู้มีภาวะอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองรวมถึงโรคมะเร็งหลายชนิด ในบทความนี้จะกล่างถึงมะเร็งเต้านม

   “พบว่า ผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังหมดประจำเดือน และยังพบการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมในผู้ที่รักษาจนหายแล้วมากขึ้นอีกด้วย”

    เนื่องจากเมื่อหมดประจำเดือน เนื้อเยื่อไขมันจะเป็นตัวสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้น ยิ่งมีไขมันมาก จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมาก ซึ่งส่งผลให้เซลล์มะเร็ง(ที่มีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก) เติบโตได้ดี และในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนรวมทั้งผู้ที่เป็นเบาหวาน จะมีระดับอินซูลินสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ซึ่งอินซูลินที่เพิ่มขึ้นมากๆ ส่งผลต่อการเป็นโรคมะเร็งเช่นกัน

    มีรายงานการเก็บข้อมูลจากประชากรที่หมดประจำเดือนแล้วมากกว่า 1 ล้านคน และติดตามนานกว่า 5 ปี พบว่า ผู้มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติถึง 30%

    ส่วนในผู้ที่ยังไม่หมดประจำเดือนนั้น มีการเก็บสถิติจากประชากรจำนวนมากกว่า 700,000 ราย ติดตามนานกว่า 9 ปี พบว่า ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วน มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่น้ำหนักปกติถึง 4.2 เท่า

     เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่น้ำหนักปกติ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน นอกจากเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม เพิ่มการกลับมาเป็นซ้ำแล้ว การตรวจวินิจฉัย การผ่าตัด การฉายแสงยังมีความซับซ้อนมากกว่า ผลของยาเคมีบำบัดก็ลดน้อยลงอีกด้วย

แล้วเราควรทำอย่างไร

ไม่ยากและไม่เจ็บปวดเลย สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะลดความอ้วน เพียงแค่มีความตั้งใจและมีวินัย ก็สามารถลดน้ำหนักลงได้ในระดับหนึ่งแล้ว วิธีการที่ควรปฏิบัติมีดังนี้

  1. การเลือกรับประทานอาหารที่ไขมันต่ำ น้ำตาลต่ำ
  2. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 
  3. การออกกำลังกาย ที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย ในระยะเวลาที่นานพอสมควร เช่น การเดินเป็นประจำทุกวัน จนรู้สึกเหนื่อย โดยค่อยๆเริ่มทำทีละน้อย และค่อยๆเพิ่มเวลาให้มากขึ้น จนสามารถออกกำลังกายได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  4. ตรวจร่างกายประจำปีสม่ำเสมอ ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็ง 

“เราไม่อยากให้ใครเป็นมะเร็ง” ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง แคนเซอร์อลิอันซ์

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6437123/
  • https://www.frontiersin.org/…/10…/fonc.2021.705911/full

บทความที่น่าสนใจ

Post Views: 6,802
Language »