ญาติเป็นมะเร็งเราจะเป็นมะเร็งไหม

ญาติเป็นมะเร็งเราจะเป็นมะเร็งไหม

บ่อยครั้งที่เราได้รับคำถามจากญาติผู้ป่วยว่าจะตรวจหามะเร็งตั้งแต่เริ่มแรกอย่างไรดี เพราะกลัวการเป็นมะเร็งจะเกิดจากกรรมพันธุ์

   การตรวจหามะเร็งนั้นมีหลากหลายวิธีขึ้นกับอวัยวะ เช่น การเอกซเรย์ในมะเร็งปอด, การตรวจ mammogram ในมะเร็งเต้านม ซึ่งการตรวจเพื่อหา “ก้อน”นั้น เราต้องยอมรับว่าถ้าเราเห็นก้อนแล้ว แสดงว่ามีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนล้านๆเซลล์ แล้ว

     ในปัจจุบันก็จะมีการตรวจสารความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง อย่างเช่น Alpha Fetoprotein เพื่อตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งตับ การตรวจ PSA เพื่อหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งใช้กันทั่วไปในทุกโรงพยาบาล แต่ที่จริงแล้วหากตรวจแล้วพบว่ามีสารเหล่านี้ ก็อาจจะเป็นไม่ใช่มะเร็งเสมอไป เพราะสารเหล่านี้สามารถเกิดจากการอักเสบหรือว่าโรคทั่วไปได้ ซึ่งการตรวจหาสารความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งก็มักจะต้องทำการตรวจเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูแนวโน้ม และบางครั้งอาจทำควบคู่ไปกับการตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น การตรวจหาสารความเสี่ยงมะเร็งตับ ควบคู่กับการทำอัลตราซาวน์ Ultrasound ตับ

   การตรวจที่ดีจริงๆ ก็คือการตรวจยีน การตรวจยีนนั้น ตรวจครั้งเดียว ไม่ต้องตรวจซ้ำ ซึ่งปัจจุบัน สปสช. ได้มีโครงการที่จะตรวจค้นหายีนมะเร็งเต้านม ซึ่งมีข้อมูลสนับสนุนว่าคนที่มีญาติเป็นมะเร็งเต้านม ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นถึง 5 เท่า

   การตรวจยีนก็จะทำให้เราได้ค้นหาความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้ตั้งแต่ยังไม่เป็น สามารถเฝ้าระวังได้ตามที่เหมาะสม เมื่อพบจะสามารถรักษาได้อย่างตรงจุด หรือแม้แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งได้ อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกาที่ยอมรับให้มีการตัดเต้านม เป็นต้น

บทความที่น่าสนใจ

Post Views: 2,674
Language »