เป็นคำใหม่ที่เราไม่ได้ยินบ่อยนัก หรือไม่เคยได้ยินเลย โดยทั่วไป เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่าดื้อยา ซึ่งพบกันมากในกลุ่มยาปฏิชีวนะ ส่วนในวงการมะเร็ง ก็จะรู้เรื่องการดื้อต่อยาเคมีบำบัด
วันนี้จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับดื้อรังสีในคนไข้มะเร็ง เรื่องเป็นแบบนี้ครับ
การดื้อรังสีของคนไข้จะแบ่งกลุ่มของมะเร็งตามระดับการดื้อรังสี ดังนี้ มะเร็งที่ไวต่อรังสีมากหรือดื้อน้อย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งที่ไวต่อรังสีปานกลาง เช่นมะเร็งเยื่อบุ มะเร็งของต่อม (เช่นมะเร็งเต้านม) และมะเร็งที่ไวต่อรังสีน้อยหรือดื้อมากที่สุดได้แก่ มะเร็งเนื้อเยื่อ ซึ่งการแบ่งกลุ่มนี้ ช่วยให้เรารู้ว่า เราสามารถรักษาด้วยรังสี เป็นหลักได้หรือไม่ และยังมี ปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาอีกคือ เรื่องของขนาดก้อน ภาวะการขาดออกซิเจน ก็จะทำให้การตอบสนองต่อรังสีไม่ได้ดี
ประเด็นที่จะกล่าวในวันนี้ คือ มะเร็งในกลุ่มที่เราใช้รังสีรักษาเป็นหลัก เช่น มะเร็งก้อนบริเวณศีรษะและลำคอ หากมะเร็งมีลักษณะก้อนเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครจะดื้อต่อรังสี และรังสีแพทย์จะมีวิธีการปรับการรักษาอย่างไร
มีรายงานที่น่าสนใจ จาก BMC Cancer. 2019 ซึ่งนำเสนอ online เมื่อ 14 Jan 2019 ที่พยายามค้นหาความต่างของยีน ที่พบในกลุ่มคนไข้มะเร็งที่ดื้อต่อรังสี
ในรายงานนี้ผู้ศึกษา ได้พบยีนส์ผิดปกติ ที่ทำให้ดื้อต่อรังสี การค้นพบนี้ใช้กระบวนการ ที่มีชื่อว่า modulation of cellular focal adhesion, the PI3K-Akt signaling pathway, the HIF-1 signaling pathway, and the regulation of stem cell pluripotency
เจ้าวิธีการนี้สามารถแสดงความต่างของการดื้อรังสี และผลการรักษาอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่มียีนผิดปกติ กับปกติ (p < 0.0001, HR = 2.44)
ซึ่งผู้รายงาน ได้กล่าวว่า การค้นพบนี้ จะนำไปสู่
การฉายรังสีเฉพาะบุคคล หรือ personalized radiotherapy การฉายรังสีเฉพาะบุคคล ใช้ได้ตั้งแต่เริ่มวางแผน หรือ กลุ่มที่ดื้อต่อการรักษา เป็นความก้าวหน้าทางด้านการฉายรังสีที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติอย่างแท้จริง
ผมขอเติม Keywords: Head and neck cancer, Radioresistance, Prognosis, IGF1R, LAMC2, ITGB1, IL-6 เพื่อให้ผู้สนใจไปศึกษาต่อนะครับ
นับว่าเป็นมิติใหม่ ที่จะก้าวไปสู่ การรักษาเฉพาะบุคคล ซึ่งต่อไปในอนาคต เราจะมีการตรวจยีนก่อนการรักษา และ การตรวจระหว่างการรักษา เพื่อดูการเปลียนแปลงที่เกิดขึ้น โดยข้อมูลเหล่านี้ จะถูกนำมาปรับแต่งการรักษา ซึ่งจะทำให้การรักษาดีขึ้น ผลข้างเคียงน้อยลงมากกว่าการรักษามาตรฐานในปัจจุบัน
ขอย้ำอีกครั้งนะครับ บทความนี้เป็นความก้าวหน้าในอนาคต แต่ในปัจจุบัน เรายังใช้มาตรฐานการรักษาที่มีอยู่ ตามแต่ละสถาบัน หรือ แพทย์เลือกใช้นะครับ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |