“นอนไม่หลับมาหลายปี ต้องกินยานอนหลับบ่อยๆ ทำยังไงดี” “นอนหลับๆตื่นๆ ปวดเมื่อยไปหมด ต้องตื่นกลางดึก มีวิธีรักษาอะไรบ้าง” ถ้าคุณประสบปัญหาดังกล่าว ทั้งการนอนไม่หลับ หรือหลับอย่างไม่มีคุณภาพ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจ
การแก้ปัญหานอนไม่หลับ เริ่มได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและยังมีทางเลือกอื่นๆที่สามารถรักษาบำบัดอาการนอนหลับอย่างได้ผลและมีความปลอดภัย เช่น การนวดกดจุดโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์
แพทย์แผนไทยมองว่าการนอนไม่หลับ เกิดจากการติดขัดของธาตุลม การนวดกดจุดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อช่วยให้หลับสบาย โดยเฉพาะในผู้ที่นอนไม่หลับ และมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อร่วมด้วย โดยจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลม ช่วยผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล และกระตุ้นการหลั่งสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งสามารถช่วยเรื่องการนอนหลับให้ดีขึ้น
นอนหลับสบาย ด้วยตำรับยาที่มีส่วนผสมของกัญชาปัจจุบันมีการปลดล็อก เพื่อใช้กัญชาทางการแพทย์ “ตำรับยาศุขไสยาศน์” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ โดยพบว่าทำให้ผู้ป่วยนอนหลับดีขึ้นร้อยละ 96.67 เนื่องจากเป็นยาที่มีรสสุขมออกร้อน สามารถกระจายลม กระตุ้นให้ระบบประสาททำงานดีขึ้น รวมทั้งส่วนประกอบของตำรับยายังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็น กัญชา และขิงแห้ง และยังมีฤทธิ์ต้านอาการวิตกกังวล ได้แก่ ดีปลี สะเดา และลูกจันทน์ เป็นต้น
ยาหอมรสสุขุม แก้ปัญหาการนอนไม่หลับ ปรับสมดุล ยาหอมเป็นยาที่นำมาใช้ปรับสมดุลธาตุ โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมหลากหลายชนิด ใช้สำหรับอาการวิงเวียน หงุดหงิด กังวล นอนไม่หลับ โดยเฉพาะ “ยาหอมเทพจิตร” เป็นหนึ่งในตำรับยาที่ใช้สำหรับอาการนอนไม่หลับ และช่วยคลายความกังวล ซึ่งเทพจิตรมีส่วนประกอบของมะลิมากกว่า 50 % โดยน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิมีฤทธิ์กระตุ้นให้จิตใจสดชื่น นอกจากนี้สารสกัดของผิวส้มยังมีฤทธิ์คลายกังวล และมีฤทธิ์สงบระงับประสาทอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีหัตถการอื่นๆ ที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนการรักษา โดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ เนื่องจากปัญหาและอาการแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน
ที่มา : พินิต ชินสร้อย และ กรนิษฐ์ แมลงภู่ทอง. (2563). นวดไทยกับการบำบัดนอนไม่. การประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 17. (หน้า 104–110). นนทบุรี
รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. (2555). จะเลือกใช้ยาหอม อย่างไรถึงจะดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/103/
ศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพร. (2564). การประเมินประโยชน์และความปลอดภัยจากการใช้ตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชา ณ คลินิกหางกระรอก โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร:กรณีศึกษาตำรับยาศุขไสยาศน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.arjarohospital.go.th/index…/2021-02-23-13-22-58.
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |