มะเร็งปากมดลูกเหมือนกัน ทำไมฉายแสงไม่เท่ากัน

มะเร็งปากมดลูกเหมือนกัน ทำไมฉายแสงไม่เท่ากัน

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง มาขอคำปรึกษา เพื่อเป็นความเห็นที่ 2 (second opinion) 🤔 ก่อนที่จะตัดสินใจรักษา เมื่อทราบแผนการรักษาของแพทย์ ได้ถามแพทย์ว่า ทำไมอีกโรงพยาบาลหนึ่ง บอกว่า ฉายแสงเพียง 20 ครั้งเอง สะดวก รวดเร็ว ฉายแสงน้อยกว่าแผนการรักษาที่แพทย์ได้บอกไว้ถึง 8 ครั้ง และราคาถูกกว่าด้วย

 

ข้อเท็จจริงของการฉายรังสีมะเร็งปากมดลูกมีดังนี้👇
1. ปากมดลูกเป็นอวัยวะที่มีอวัยวะข้างเคียงที่สำคัญคือ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งทนรังสีได้น้อยกว่าตัวปากมดลูก นั่นหมายถึง การที่แพทย์จะฉายแสงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งปากมดลูก แพทย์ต้องคำนึงถึงอวัยวะข้างเคียงด้วย 👩‍⚕️
2. ผลของการที่ลำไส้ใหญ่ได้รับรังสีมากเกินไป ได้แก่ ลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่ทุเลาลงได้ แต่ในบางรายที่ได้รับปริมาณรังสีมากเกินไป อาจมีผลข้างเคียงได้มากกว่า 10 ปี หรืออาจถึงกับต้องตัดทิ้งและเปิดหน้าท้องเพื่อขับถ่ายทางหน้าท้อง
3. ผลของการที่กระเพาะปัสสาวะได้รับรังสีมากเกินไป ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการคือกลั้นปัสสาวะไม่ได้
4. จะเป็นได้ว่าผลข้างเคียงของการฉายรังสีที่ลดจำนวนครั้งลงนั้น มีผลกระทบกับคุณภาพชีวิตในระยะยาวของผู้ป่วยอย่างยิ่ง
5. ในขณะที่การใช้ปริมาณรังสี และ จำนวนครั้งที่เหมาะสม จะทำให้รักษามะเร็งได้ และลดผลข้างเคียงที่จะมีต่อผู้ป่วยในระยะยาวด้วย
6. ผลข้างเคียงระยะยาว ส่งผลต่อทั้งคุณภาพชีวิตและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นต่อไปเพื่อการรักษาผลข้างเคียงนั้น
7. ทั้งนี้ปริมาณรังสี และจำนวนครั้งในการฉายแสง ขึ้นกับลักษณะผู้ป่วย, อายุ, ระยะที่เป็น, อวัยวะที่ลุกลามไป, วัตถุประสงค์ในการรักษา (เช่น เพื่อหายขาด หรือเพื่อหยุดเลือด) ซึ่งแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้พิจารณา 👩‍⚕️
8. การให้ปริมาณรังสีรวมที่เท่ากัน แต่ปริมาณรังสีต่อครั้งที่สูง จะมีผลข้างเคียง (Side Effect) ที่เพิ่มขึ้น
Post Views: 554
Language »