รังสีรักษา (การฉายแสง)

รังสีรักษา (การฉายแสง)

     เครื่องฉายรังสีที่โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ เปิดให้บริการ เป็นเครื่องฉายรังสีแบบรักษาระยะไกล (External Beam Radiation Therapy) คือการอาศัยรังสีที่มีแหล่งกำเนิดรังสีอยู่นอกร่างกาย ฉายเข้าไปที่เนื้องอกภายในร่างกายด้วยรังสีที่มีพลังงานสูง โดยเป็นเครื่องฉายรังสีของบริษัท Varian รุ่น Vitabeam สามารถใช้เทคนิคการรักษาตั้งแต่แบบธรรมดาไปจนถึงเทคนิคซับซ้อน ได้แก่

  • เทคนิคการฉายรังสีแบบ 3 มิติ (3D-CRT,Three-Dimensionsl Radiation Therapy)
  • เทคนิคการรักษาแบบปรับความเข้มจากการเคลื่อนของวัสดุกำบังรังสีรูปซี่ (IMRT, Internsity modulated radiotherapy)
  • เทคนิคการรักษาแบบปรับความเข้มพร้อมหัวหมุนรอบตัว ผู้ป่วย (VMAT,Volumetric modulated radiotherapy)
  • เทคนิคการรักษาแบบสี่มิติที่ฉายรังสีตามจังหวะการหายใจของผู้ป่วย (4D-Radiotherpy)

     ซึ่งเป็นเทคนิคการฉายรังสีที่ทันสมัยและมีความถูกต้องของบริเวณที่ฉายรังสีสูง เนื่องจากมีการจับสัญญาณรอบการหายใจของผู้ป่วยเพื่อให้รังสีออกมาเฉพาะช่วงการหายใจหนึ่ง ตามที่ได้นำภาพของการหายใจนั้นๆ เครื่องฉายรังสีของทางโรงพยาบาล สามารถผลิตรังสีเอ็กซ์พลังงาน 6 และ 10 MV สำหรับรักษามะเร็งที่อยู่ลึก และผลิตอนุภาคอิเล็กครอนพลังงาน 6,9,12,16 และ 20 MeV สำหรับรักษามะเร็งที่อยู่ตื้นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อเด่นพิเศษเหนือเครื่องรุ่นอื่นๆ คือ มีพลังงานแบบความเข้มสูง (High intensity mode) ที่พลังงาน 6 MV (6FFF) ทำให้สามารถลดเวลาการฉายรังสีลงได้สูงสุดคือ 4 เท่า จึงเหมาะอย่างยิ่งกับการรักษาที่ให้ปริมาณรังสีสูง การรักษาในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถอยู่นิ่งเป็นเวลานานได้ ทำให้ลดโอกาสการขยับตัวของผู้ป่วยระหว่างการฉายรังสีลงได้ จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอีกทางหนึ่ง

      นอกจากนั้นยังมีระบบรับภาพแบบดิจิตอล (CBCT, Cone Beam computed tomography) ติดตั้งอยู่กับเครื่องเพื่อทำการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ดูตำแหน่งและขอบเขตของ การฉายรังสีก่อนเริ่มฉายรังสี โดยเปรียบเทียบกับภาพเอ็กซเรย์ที่ได้ ณ ปัจจุบันกับภาพที่ได้จากกระบวนการ การวางแผนการรักษา ซึ่งสามารถเพิ่มความแม่นยำของตำแหน่ง การฉายรังสีให้แก่ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

GALLERY

Post Views: 10,403
Language »