SBRT ในมะเร็งปอดปี 2020 เพิ่มอัตราอยู่รอดผู้ป่วยมะเร็งปอด เพิ่มผลภูมิคุ้มกันบำบัด

SBRT ในมะเร็งปอดปี 2020 เพิ่มอัตราอยู่รอดผู้ป่วยมะเร็งปอด เพิ่มผลภูมิคุ้มกันบำบัด

     SBRT เริ่มเป็นข่าว New Treatments, New Hope หรือ แนวทางการรักษาใหม่ ความหวังใหม่ ในผู้ป่วยมะเร็งปอด ชนิด non-small cell lung cancer ตั้งแต่ ปี 2016 ในการประชุมสมาคมมะเร็งวิทยา ประเทศอเมริกา (American Society for Radiation Oncology) 

    SBRT หรือ การฉายรังสีร่วมพิกัด เป็นวิธีการฉายรังสีเทคนิคพิเศษที่แตกต่างจากการฉายรังสีทั่วไป เป็นการรวมลำรังสีไปยังก้อนเนื้องอกโดยต้องอาศัยการใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดตำแหน่งเป้าหมายการรักษา

    การฉายรังสีร่วมพิกัด เป็นที่รู้จักกันดี ในเรื่องรังสีศัลยกรรมร่วมพิกัด (Stereotactic radiosurgery ) ในการรักษาเนื้องอกสมอง หรือ ก้อนในบริเวณศีรษะ โดยให้การฉายรังสีเพียง 1-5 ครั้ง ต่อมาพัฒนามาเป็น รังสีร่วมพิกัดบริเวณลำตัว (Stereotactic body radiation therapy ) เป็นการฉายรังสีปริมาณสูงที่ก้อนเนื้องอกบริเวณลำตัวเช่น ปอด ตับ ไตหรือต่อมลูกหมาก เป็นต้น โดยใช้การฉายรังสี 1-5 คร้ง เช่นกัน

     โดยรายงานแรก เป็นรายงานการศึกษาจาก Veterans Affairs Central Cancer Registry ระหว่างปี 2001 และ 2010. จากจำนวนผู้ป่วย 3,012 คน แบ่งเป็น 468 ที่ได้รับการฉายรังสีในเทคนิค SBRT และ 1,203 ราย ที่ได้รับการฉายเทคนิคปกติ ในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะที่ 1 พบว่า เพิ่มอัตราการอยู่รอดที่ระยะ 4 ปี เป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับการฉายรังสีทั่วไป 53.2% :28.3% และอัตราการอยู่รอดที่เพิ่มขึ้น จาก 40% เป็น 60 % ในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรกๆ ที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถผ่าตัดได้

  ทำให้ปัจจุบัน การใช้ , SBRT โดยการฉาย 1-5 ครั้งกลายเป็นมาตรฐานในการฉายรังสีในผู้ป่วยที่ผ่าตัดไม่ได้ แทนการฉายรังสีในหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัด

      อย่างไรก็ตาม การผ่าตัด ก็ยังเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยระยะแรกๆที่สามารถผ่าตัดได้ และการใช้เทคนิค SBRT ก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมของรอยโรค ซึ่งแพทย์ จะเป็นผู้พิจารณา

    ครั้งต่อไป ผมจะนำเรื่องการเพิ่มผลภูมิคุ้มกันบำบัด ในมะเร็งปอด จากการฉายรังสีเทคนิค SBRT ที่มีรายงานในปี 2020 ซึ่งเป็นการเพิ่มความหวังของผู้ป่วยมะเร็งปอดครับ

ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร

Post Views: 2,933
Language »