เป็นที่ยอมรับกันว่าโอกาสการหายจากมะเร็งตับ คือ การค้นพบก้อนที่มีขนาดเล็กและผ่าตัดได้ แต่ประเด็นสำคัญ คือผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ในระยะที่เป็นมากเกินกว่าการผ่าตัด วิธีการรักษาที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในกลุ่มที่ผ่าตัดไม่ได้และเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน คือการใช้ RFA ซึ่งเป็นการใช้เข็มนำคลื่นความถี่วิทยุระดับสูง เข้าในก้อน เหนี่ยวนำให้เกิดความร้อนที่สูงเพียงพอในการทำลายเซลล์มะเร็ง
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการฉายรังสี จากรังสี 2 มิติ เป็นรังสี 3 มิติ และต่อมาที่ได้ยินกันทั่วไป คือ IMRT ที่เป็นมาตรฐานหลักในการรักษามะเร็งทั่วไป จนกระทั่งสิ่งที่เรียกว่า รังสีศัลยกรรม หรือการผ่าตัดด้วยรังสี ซึ่งในระยะเริ่มแรก เราจะได้ยินที่สมอง เรียกว่า Gamma-knife และ X-Knife
ในปัจจุบัน การรวมรังสีที่จุดใดจุดหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาพเหมือนการผ่าตัดได้ใช้ในอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณลำตัว ที่เรียกว่า SBRT หรือ Stereotactic body radiation เริ่มแพร่หลายและมีการใช้รักษาในหลายอวัยวะโดยเฉพาะเรื่องมะเร็งตับ
รายงานที่น่าสนใจ เมื่อเดือน มีนาคม 2020 ซึ่งเป็นการศึกษาร่วมของ Nalee Kim กับคณะ จาก 7 โรงพยาบาลในกลุ่มประเทศเอเซีย ได้แก่ เกาหลี ไต้หวัน อ่องกง จีน และญี่ปุ่น เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่าง stereotactic body radiation therapy (SBRT) and radiofrequency ablation (RFA) ในมะเร็งตับที่ผ่าตัดไม่ได้ ในประเทศเอเซีย
ในรายงานเป็นการศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วย2,064 ราย โดย 1,568 and 496 i ในกลุ่ม RFA และ SBRT ตามลำดับ พบว่า SBRTให้การควบคุมโรคที่ดีกว่าการใช้RFA ในขณะที่ ภาวะแทรกซ้อนและอัตราการอยู่รอดเท่ากัน แต่เนื่องจากรายงานนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังยังมีความต่างในลักษณะทางคลินิค ซึ่งหากนับในผู้ป่วยทั้งหมด RFA จะมีผลการรักษาที่ดีกว่า คณะผู้รายงานจึงได้มีการปรับกรองกลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ผลพบว่าผลการรักษา ด้วย SBRT ในเรื่องการควบคุมโรคดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
อย่างไรก็ตามจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในบทบาทของ SBRT ในการรักษามะเร็งตับ โดยเฉพาะในรายที่ก้อนมีขนาดมากกว่า 3 ซม. บริเวณใต้โดมกระบังลม หรือ segment 8
สรุปแล้ว SBRT เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษามะเร็งตับ ในกลุ่มที่ผ่าตัดไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความ เสี่ยงที่จะกลับเป็นใหม่ ในก้อนที่มีขนาด เกิน 3 ซม.หรือ ทำได้ยากเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนใหญ่, อยู่ใต้กระบังลม,อยู่ลึกเข้าไปในส่วนกลาง หรือ กลุ่มที่กลับเป็นใหม่หลังการได้ยาและการอุดหลอดเลือดแดงแล้ว
โดยส่วนตัวของผมแล้ว การใช้หลายวิธีร่วมกันอาจจะน่าสนใจ เช่น การให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการอุดเส้นเลือด ที่เรียกว่า chemoembolization ต่อด้วย SBRT เลยหรือ การให้ยามุ่งเป้าที่มีรายงานเพิ่มอัตราการอยู่รอดได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ดีเพียงพอว่าในกลุ่มมะเร็งตับที่ผ่าตัดไม่ได้การรักษาใดจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ดุลยพินิจของแพทย์ ผู้ดูแล และความพร้อมของผู้ป่วยและสถานพยาบาลจะเป็นองค์ประกอบร่วมในการตัดสินใจ ความแผนการรักษาผู้ป่วยครับ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |