- โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา
- 529 หมู่ 3 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
- 033-046333
มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่รักษาได้ไม่ง่าย ส่วนใหญ่มักจะตรวจพบในระยะที่ลุกลลาม ยกเว้นในการตรวจค้นหามะเร็งผู้ที่มีความเสี่ยง LDCT(Low dose ct) ซึ่งจะทำให้มีโอกาสผ่าตัดได้
การรักษามาตรฐาน มีตั้งแต่การผ่าตัด การฉายรังสี และยาเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับระยะของโรคเป็นการโชคดีที่ปัจจุบันมีพัฒนาการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องยามุ่งเป้า การฉายเทคนิคพิเศษต่างๆ รวมทั้งการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด
วันนี้จะนำเรื่อง SBRT ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญและได้ผลที่ดีแตกต่างจากการฉายรังสีทั่วไป และภูมิคุ้มกันบำบัดที่จะทำให้เซลล์ตาย หรือ Progrmmed Cell Death1 (PD-1)
ภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นแนวทางใหม่เป็นความหวังในการรักษามะเร็งหลายชนิดที่แสดงผลทางคลินิคโดยเฉพาะเรื่องมะเร็งปอด NON-SMALL–CELL LUNG CANCER (NSCLC) แต่ในกรณีในระยะที่ลุกลาม มักจะมีโอกาสดื้อต่อการใช้ PD 1/PD L1 INHIBITORS
ในหลายการศึกษา ทั้งในห้องปฎิบัติการและผู้ป่วย ได้แสดงให้เห็นถึงผลของรังสีรักษา ที่กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันที่จะทำลายเซลล์มะเร็งและยังมีผลกระตุ้นให้ กลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า REFRACTORY “COLD” TUMORS ให้เกิดการตอบสนองต่อการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด
จึงเป็นที่มาของการใช้ SBRT หรือ STEREOTACTIE BODY RADIATION THERAPY ซึ่งเป็นเทคนิคการฉายรังสีขั้นสูง ซึ่งได้รับการยอมรับว่า ได้เพิ่มอัตราการควบคุมโรค และอัตราการอยู่รอด รวมทั้งควบคุมการกระจายของโรค โดยการวิจัยได้แสดงผลของ SBRT ที่เหนื่อกว่าการฉายรังสีทั่วไป ที่สามารถให้ปริมาณรังสี ในขณะที่ปลอดภัยต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ ได้ผลเสมือนการผ่าตัด แล้วที่สำคัญคือการพบว่า SBRT น่าจะให้ผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
ดังนั้น การใช้ PD-1/PD-L1 INHIBTORS ร่วมกับ SBRT น่าจะได้ผลการรักษาที่ดีใน NSCLC ดังรายการศึกษา THE PEMBRO-RT PHASE 2 RANDOMIZED CLINICAL TRLAL ที่ใช้ปริมาณรังสีจากการฉาย SBRT 8 *3 ครั้ง จะเสริมผลการรักษา โดยเพิ่มผลการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดด้วย PEMBROLIZIMAB ทั้งอยู่อัตราการตอบสนอง ระยะเวลาปลอดโรค และอัตราการอยู่รอด
อย่างไรก็ตาม ก็ควรระมัดระวังในการใช้เทคนิค SBRT เพราะส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ แต่อาจจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน โดยพบว่าในปริมาณรังสีที่เหมาะสม จะให้อัตราการอยู่รอดสูง 2 เท่า ในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะที่ 1 ที่มีข้อจำกัดในเรื่องการผ่าตัด โดยให้ปริมาณ BED3<5GY ในผู้ป่วยที่ปอดปกติและในกรณีปอดทำงานได้น้อยกว่าปกติ ควรลดปริมาณรังสีลง BED3<4GY
ทั้งนี้ต้องขออภัยท่านผู้อ่าน ที่เขียนภาษาที่อาจจะไม่สามารถรู้ถึงความหมาย เพราะเป็นเรื่องทางการแพทย์เฉพาะกลุ่ม แต่ข้อสรุป คือ มะเร็งปอด ในปี 2020 ได้มีความเพิ่มมากขึ้นอาการใช้รังสี SBRT ร่วมกับภูมิคุ้มกันบำบัด ทั้งนี้ท่านควรปรึกษาและร่วมวางแผนการรักษากับรังสีแพทย์เพื่อความมั้นใจในสิ่งเหล่านี้
Copyright © 2022 Sriracha Canceralliance Alliance Hospital.
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |