“แม่นยำมาก”
“ใช้เวลารักษาน้อยลงมาก”
“ลดผลข้างเคียงได้อย่างมาก”
“อายุเยอะ ผ่าตัดมีความเสี่ยงสูง”
“ไม่ต้องผ่า ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล”
“ก้อนเคลื่อนไหวก็ยังตามจับตำแหน่งของก้อนได้”
“มะเร็งก้อนเล็ก ผ่าไม่ได้ แต่ฉายรังสีรักษาให้หายได้”
การฉายรังสีร่วมพิกัด (Stereotactic body radiation หรือ SBRT) เป็นการฉายรังสีเทคโนโลยีขั้นสูงของการรักษาโรคมะเร็ง ที่ได้ผลเหมือนการผ่าตัด จึงเรียกว่า รังสีศัลยกรรม ผู้ป่วยจำนวนมากมายได้ประโยชน์จากการฉายรังสีศัลยกรรม เห็นผลการรักษาที่ดีและชัดเจนเป็นอย่างมาก
เบื้องหลังในการมอบความปลอดภัยและประโยชน์ในการรักษามาสู่คนไข้มะเร็งด้วยเทคนิคนี้ นอกจากจะต้องใช้เครื่องฉายรังสีสมัยใหม่ ยังต้องมีระบบภาพนำวิถี เพื่อการระบุตำแหน่งของก้อนมะเร็งได้อย่างแม่นยำ และยังต้องประกอบด้วยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการใช้เทคนิคขั้นสูงนี้อีกด้วย
SBRT จะนำรังสีพุ่งตรงไปยังเนื้อเยื่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแม่นยำ จึงลดโอกาสที่เนื้อเยื่อรอบๆจะถูกทำลายให้น้อยที่สุด ก้อนมะเร็งจะรับรังสีปริมาณที่คำนวณแล้วอย่างแม่นยำเพื่อทำลายก้อนมะเร็งให้หายไป การฉายรังสีเพื่อรักษาด้วยเทคนิคนี้ จึงใช้เวลาน้อยลง ผลข้างเคียงลดลง และใช้ทดแทนการผ่าตัดได้ในบางกรณีเช่น ก้อนที่มีขนาดเล็ก ก้อนอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด ผู้ป่วยอายุมากที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด
นอกจากนี้แล้ว ในขณะที่ก้อนเคลื่อนไหว การฉายรังสีด้วยเทคนิค SBRT ก็ยังสามารถฉายรังสีไปยังก้อนมะเร็งขนาดเล็กที่เคลื่อนไหว ได้อย่างแม่นยำ เช่น ก้อนมะเร็งที่เคลื่อนไหวตามจังหวะการหายใจของผู้ป่วยขณะที่กำลังฉายรังสี
อย่างไรก็ตาม การฉายรังสีด้วยเทคนิค SBRT ไม่สามารถใช้ได้กับทุกชนิดมะเร็ง หรือ ทุกระยะของมะเร็ง
รังสีแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้พิจารณาว่าใครจะได้รับประโยชน์จากเทคนิคการรักษานี้ เมื่อแพทย์เห็นว่าโรคและระยะของมะเร็งเหมาะสมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคนี้ แพทย์จะทำการนัดเพื่อทำการจำลองการฉายรังสี (Simulation) โดยจะทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งและขอบเขตที่แม่นยำของก้อน รวมถึงตรวจสอบการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งที่เคลื่อนไหวไปตามจังหวะของการหายใจหรือการขยับร่างกาย นักฟิสิกส์จะคำนวณปริมาณรังสีเพื่อให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมที่สุดกับก้อนเนื้อ
และในสัปดาห์ต่อมา แพทย์จะนัดเข้ารับการฉายรังสีด้วยเทคนิค SBRT ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการจัดท่าเหมือนวันที่ทำการจำลอง (Simulation) การฉายรังสี เมื่อฉายรังสีเสร็จในแต่ละครั้ง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ ม่ต้องนอนโรงพยาบาล และหลังการฉายรังสีจบ แพทย์จะนัดติดตามผลการรักษาเป็นระยะ
ผลข้างเคียงของการฉายรังสีด้วยเทคนิค SBRT ที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งแพทย์จะให้ข้อมูลกับคนไข้ถึงอาการข้างเคียงของการฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยความแม่นยำอย่างมาก รวมถึงความสามารถในการจับภาพเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ การฉายรังสีด้วยวิธีนี้จึงเหมาะสมกับก้อนขนาดเล็ก หรือก้อนอยู่ในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด เช่น
โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง CAH มุ่งมั่น ในการให้การรักษาคนไข้มะเร็งด้วยมาตรฐานการรักษา เครื่องมือขั้นสูงและทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อความสุขและคุณภาพชีวิตของคนไข้มะเร็งทุกคน
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |