ยีน คำตอบที่ใช่ ของโรคมะเร็ง

ยีน คำตอบที่ใช่ ของโรคมะเร็ง

     เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวงการมะเร็ง ในประเทศไทย คือ ข่าวผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ ซึ่งในปีนี้มี 2 ท่าน โดยมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง ดังนี้   

    ท่านแรก คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ไบรอัน เจ. ตรูเคอร์ (Professor Brian J. Druker) ศาสตราจารย์อายุรศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งในมหาวิทยาลัยการแพทย์และวิทยาศาสตร์แห่งโอเรกอนสหรัฐอเมริกา ผู้มีผลงานสำคัญในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยจนเป็นผู้นำในการพัฒนาหนึ่งในยาต้นแบบของการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า คือ อิมาทินิบ ( Imatinib ) สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล ( CML : chronic myeloid leukemia ) หรือ ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ Gleevec สามารถออกฤทธิ์รักษาตรงกับกลไกของการเกิดโรคที่เรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า หรือ targeted therapy ที่จะไปยับยั้งโปรตีนมะเร็ง BCR-ABL ซึ่งการค้นพบนี้โด่งดัง และเปลี่ยน มิติการรักษาโรคมะเร็งเป็นยามุ่งเป้ามากขึ้นในหลายโรค นำไปสู่การศึกษาในเรื่อง ยีน ในโรคมะเร็งอื่นๆอย่างกว้างขวาง รวมทั้งพัฒนายาใหม่ๆอีกมากมาย

    ท่านที่ 2 คือ ศาสตราจารย์ ดร.แมรี่ แคลร์ คิง (Professor Dr. Mary-Claire King) ศาสตราจารย์เวชพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ค้นพบยีน BRCA1ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่ามะเร็งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม และยังพัฒนาการตรวจยีนมะเร็งด้วยเทคนิคใหม่นำไปใช้ได้ทั่วโลก และแน่นอนที่สุด ปัจจุบัน ก็มียามุ่งเป้าที่ใช้รักษามะเร็งเต้านม อยู่จำนวนมาก 

  ผลงานท่านทั้ง 2 ได้เป็นที่ประจักษ์ จนกระทั่งปัจจุบันยา อิมาทินิบ มีข้อบ่งใช้ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ในการ รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวซีเอ็มแอล (Chronic Myelogenous Leukemia: CML) แต่ต้องได้รับการตรวจยืนยันว่ามีโครโมโซมฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia chromosome) หรือมียีน Bcr-abl fusion gene ที่จะเป็นตัวบ่งบอกการตอบสนองต่อยา 

  ในขณะเดียวกัน การพบยีน BRCA1 ก็จะเป็นข้อบ่งชีในการผ่าตัดเต้านมออก เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม ดังที่เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก ของดาราสาวอเมริกา 

  เราเชื่อว่า การตรวจยีน จะนำมาสู่การปรับเปลี่ยนแนวทางการป้องกัน และการรักษาโรคมะเร็งในอนาคต โดยเฉพาะในประเทศไทย ทั้งแพทย์ ผู้ป่วยและญาติ ก็ให้ความตระหนักในเรื่องนี้ เพียงแต่ขอให้ราคาการตรวจที่ถูกลง และเหมาะสมในการตรวจ ในแนวคิด sufficiency economy ที่โรงพยาบาลแคนเซอร์ อลิอันซ์ ยึดเป็นแนวทางในการดำเนินการเพื่อประชาชนคนไทย

บทความที่น่าสนใจ

Copyright © 2022 Sriracha Canceralliance Hospital.

Post Views: 3,497
Language »