เครื่องฉายรังสี 4 มิติ
ข้อควรพิจารณาในการรักษาโรคมะเร็ง

เครื่องฉายรังสี 4 มิติ
ข้อควรพิจารณาในการรักษาโรคมะเร็ง

 วิธีหลักในการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี หรือฉายแสง และการให้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้รวมถึง ยามุ่งเป้า และภูมิคุ้มกันบำบัด
 
เรื่องการผ่าตัด หรือการให้ยา คนทั่วไปพอจะนึกภาพออกว่าเป็นอย่างไร แต่สำหรับการฉายรังสี หรือฉายแสงนั้น คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเครื่องฉาย ที่มีขนาดใหญ่ๆ แต่ไม่รู้ว่าเครื่องฉายรังสีแต่ละเครื่องนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร
 
ครื่องฉายรังสี มีไว้เพื่อยิงรังสีไปยังก้อนมะเร็ง ตามวัตถุประสงค์ของแพทย์ที่จะพิจารณารักษาผู้ป่วยแต่ละราย บางรายฉายแสงเพื่อทำให้ก้อนเล็กลง บางรายฉายแสงเพื่อทำลายให้ก้อนหายไป บางรายฉายแสงเพื่อระงับเลือด หรือในภาวะฉุกเฉินบางกรณี แพทย์จะฉายแสงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความพิการในระยะยาวกับผู้ป่วย

ในขณะที่ฉายรังสีนั้น ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกอะไรเลย เพียงนอนนิ่ง หายใจเป็นปกติสักประมาณ 15 นาที การฉายรังสีก็จะเสร็จสิ้นลง

ในผู้ป่วยบางรายที่ก้อนมะเร็งอยู่ในบริเวณที่เคลื่อนไหวได้ตามการหายใจ เช่น มะเร็งปอด เครื่องฉายที่สามารถฉายแสงแบบ 4มิติได้นั้น จะสามารถจับการเคลื่อนไหวได้ว่าก้อนมะเร็งหรือก้อนเนื้องอกนั้น อยู่ในช่วงของลำรังสีหรือไม่ และจะคำนวณแบบ 4มิติ เพื่อปรับการปล่อยรังสีเฉพาะเมื่อก้อนเข้าสู่บริเวณลำรังสีเท่านั้น “ดังนั้น เครื่องฉายรังสีที่สามารถฉายรังสีแบบ 4 มิติได้ จึงทำให้การฉายรังสีนั้นปลอดภัย ลดผลกระทบกับอวัยวะข้างเคียงได้อย่างมาก”

เครื่องฉายรังสีที่โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ สามารถฉายรังสีแบบ 4 มิติ รวมถึงสามารถฉายรังสีด้วยเทคนิคขั้นสูง หรือรังสีศัลยกรรมได้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าผู้ป่วยมะเร็งทุกรายจะต้องรักษาด้วยเทคนิครังสี 4 มิติ แต่แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยรายใด มีความจำเป็นต้องฉายรังสีด้วยเทคนิคใด

บทความที่น่าสนใจ

Post Views: 1,863
Language »