ใครควรตรวจยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่

ใครควรตรวจยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่
(สำรวจข้อบ่งชี้ง่ายๆ เบื้องต้นด้วยตัวเอง)

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่ไม่มีอาการเลยในระยะเริ่มต้น และเมื่อมีอาการ ก็มักจะเป็นระยะลุกลามไปแล้ว

👉สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่คาดว่าเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ได้แก่ กินเนื้อสัตว์สีแดงปริมาณมากๆ, รับประทานผักผลไม้น้อย, ดื่มน้ำน้อย, ไม่ออกกำลังกาย, ท้องผูกเรื้อรัง

อีกหนึ่งสาเหตุที่พบประมาณ 5-10% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่คือ การส่งต่อทางกรรมพันธุ์ 🧬หรือยีน ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การมีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
ไม่ว่าญาติสายตรง (พ่อ, แม่, พี่น้อง) หรือญาติพี่น้องคนอื่น (ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา)
 
👨‍👩‍👧สำรวจเบื้องต้นได้ง่ายๆ ผู้มีความเสี่ยงที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่
– มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) แม้แต่คนเดียว เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 60 ปี
– มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (เป็นตอนอายุเท่าใดก็ได้)
– มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งอื่น (มะเร็งอะไรก็ได้) ในคนเดียวกัน
– มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) ตรวจพบยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
– มีญาติพี่น้องอื่นๆเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
– มีญาติพี่น้องอื่นๆ ตรวจพบยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้🧬
🤗ประโยชน์ของการตรวจยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่
– ข้อมูลการตรวจยีนจะบอกความถี่ในการตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งผู้ที่มียีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ กับผู้ที่ไม่มียีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีการตรวจร่างกายประจำปีที่ไม่เหมือนกัน ทั้งชนิดของการตรวจ และความถี่ในการตรวจ
– มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และตรงเป้ามากขึ้น เช่น ในผู้ป่วยบางรายอาจให้ยามุ่งเป้าได้ หรือให้ยามุ่งเป้าร่วมกับยาเคมีบำบัดได้ กรณีตรวจพบยีนกลายพันธุ์บางชนิด
– เพื่อเฝ้าระวังคนในครอบครัว
 
โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา มีความพร้อมในการตรวจยีน ความพร้อมในการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ รวมถึงห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน สำหรับผู้ป่วยมะเร็งทุกสิทธิ ☺️
Post Views: 1,122
Language »